วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564

กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำแบบไทยของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณควบคู่กับวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ดังนี้ (1) ศึกษาองค์ประกอบของคุณลักษณะผู้นำแบบไทยของผู้บริหาร (2) ศึกษาสภาพปัจจุบันของ ผู้บริหารตามคุณลักษณะผู้นำแบบไทย (3) ศึกษาคุณลักษณะผู้นำแบบไทยที่พึงประสงค์ของผู้บริหารตามความคาดหวัง ของตัวผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง (4) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำแบบไทยของผู้บริหาร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระ ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา และ ผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบคุณลักษณะผู้นำแบบไทยมี 5 ด้าน คือ ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านทัศนคติ ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม (2) สภาพปัจจุบันของ คุณลักษณะผู้นำแบบไทยของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความรู้กับด้านทักษะอยู่ระดับปานกลาง (3) คุณลักษณะผู้นำแบบไทย ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคาดหวัง พบว่าโดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม (4) กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำแบบไทย มี 2 กลยุทธ์หลัก 6 กลยุทธ์รอง และ 12 วิธีดำเนินการ โดยมีกลยุทธ์หลัก คือ (1) กลยุทธ์เสริมสร้างทักษะผู้นำแบบไทยในศตวรรษที่ 21 และ (2) กลยุทธ์พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ

 

พิมพ์ฐดา วัจนวงศ์ปัญญาปองสิน วิเศษศิริ และ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ . (2555) กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะผู้นำแบบไทยของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2556.

กลยุทธ์การนำนโยบายโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่การปฏิบัติของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์ เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการปรับปรุง การนำนโยบายโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่การปฏิบัติของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสร้างกลยุทธ์การนำนโยบายโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่การปฏิบัติของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเพื่อประเมินกลยุทธ์ในการนำนโยบายโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่การปฏิบัติของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ สำหรับวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลกับประชากร คือ โรงเรียนมาตรฐานสากล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 126 โรง ได้กลุ่มตัวอย่าง 26 จากร้อยละ 20 จากประชากรทั้งหมด ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 359 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม จากการสนทนากลุ่มโดยใช้รูปแบบ SWOT Matrix และประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ ผลการวิจัย พบว่า
1. ความต้องการจำเป็นในการปรับปรุงกลยุทธ์การนำนโยบายโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่การปฏิบัติ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.20 และด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูง และจัดว่าเป็นจุดอ่อน จำนวน 3 หมวด ได้แก่ หมวดการปฏิบัติการ มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเท่ากับ 0.24 หมวดกลยุทธ์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น เท่ากับ 0.23 และหมวดการวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเท่ากับ 0.22 ตามลำดับ
2. กลยุทธ์ในการนำนโยบายโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่การปฏิบัติของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันนออกเฉียงเหนือ ประกอบ 3 กลยุทธ์หลัก คือ กลยุทธ์พัฒนาการบริหารและการจัดการองค์กร กลยุทธ์พัฒนากระบวนการสร้างกลยุทธ์ด้วยระบบคุณภาพ และกลยุทธ์พัฒนาระบบสารสนเทศและการจัดการความรู้ ประกอบด้วยกลยุทธ์รอง 15 กลยุทธ์ และ 88 แนวทางปฏิบัติ
3. ผลการประเมินกลยุทธ์ด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในระดับมาก สำหรับแนวทางปฏิบัตินั้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก


ภูริ บานทอง (2560) กลยุทธ์การนำนโยบายโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่การปฏิบัติของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

การศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10

 Title

การศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10
To study the characteristics of school administrators accord to teachers in secondary school opinion Amphoe Pranburi Changwat Prachuapkhirikhanp under the secondary education service area

Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงานและขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 ทั้ง 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนปากน้ำปราณวิทยา โรงเรียนเมืองปราณบุรี และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการปราณบุรี โดยใช้ตารางกำหนดขนาดของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p. 608) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้การทดสอบค่าที (t-test) ทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธี LSD (Least significant difference) ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู โรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 โดยรวมและรายด้าน อยู่ใน ระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านบุคลิกภาพ รองลงมา คือ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านความเป็นผู้นำ และด้านความรู้ความสามารถในการบริหาร 2. เปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู โรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จำแนก ตามประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. เปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู โรงเรียนมัธยมศึกษาใน อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านบุคลิกภาพ และด้านคุณธรรมและจริยธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านความรู้ความสามารถ ในการบริหาร ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านความเป็นผู้นำ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Abstract: The objectives of this study were to study and compare the characteristics of the school administrators in Pranburi Prachuap Khiri Khan Province Under the Office of the Metropolitan Area Authority District 10. The sample in this study was 97 secondary school teachers at Paknampran Witthaya School, Pranburi City School, and Pranburi Educational Development School. The instrument used to collect the data was a questionnaire. The statistical methods used in the study were Mean (X), Standard Deviation (SD), t-test, one-way ANOVA, t-test, and Test with the pair of LSD (Least Significant Difference). The research found that. 1. The characteristics of school administrators as perceived by teachers in overall and individual level, was at a high level. 2. Teachers with different working experiences report statistically significant difference at 0.05 level when rating the competing masagiment skills of this administrators and leadership. In addition, the teachers with different work experiences report statistically significant difference at .01 level towarls the work, personality and human relations of this administrators. There were statistically significant differences at the .05 level. Morals and ethics are different. No statistical significance. 3. Compare the characteristics of school administrators as perceived by teachers in secondary schools in Pranburi. Prachuap Khiri Khan Province The size of the school under the jurisdiction of the Office of the Secondary Education Region 10 was different. Have a comment there were statistically significant differences at the .05 level. And the moral and ethical difference. At the .01 level of knowledge management ability. Human relations and leadership is different. No statistical significance.
มหาวิทยาลัยบูรพา. สำนักหอสมุด


วัณภาสิณี ยิ้มประเสริฐ  (2561) การศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10.วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564

Blogger นักศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา ม.ธนบุรี รุ่นที่ 7

 

Blogger นักศึกษาปริญญาโท บริหารการศึกษา ม.ธนบุรี รุ่นที่ 7

https://suchanyapam.blogspot.com

https://manidatukta2524.blogspot.com

https://sanjitaklayprayong.blogspot.com

https://kruweerayut01.blogspot.com

https://pongthepniyomthai.blogspot.com

https://noorfadilah2534.blogspot.com

https://kanoktip2536.blogspot.com

https://supannee-suna.blogspot.com

https://chaitobuddee.blogspot.com

https://teerapongsuksomsong.blogspot.com

https://witsarut-benz238.blogspot.com

https://phakornkiat.blogspot.com

https://nitid-hengchoochip.blogspot.com

https://chonthichadeebucha.blogspot.com

https://nopparataunprasert.blogspot.com

https://chaichaofa.blogspot.com

https://voraponbabyboss.blogspot.com

https://chenchira2021.blogspot.com

https://nattidadechakkanat.blogspot.com

https://khunmuangchukorn.blogspot.com

https://anupong12tu.blogspot.com

https://sutthananabangchang.blogspot.com

https://sattawatsurisan.blogspot.com

https://thanchanokluarnkrew.blogspot.com

https://supaporn1204.blogspot.com

https://vigaivaraporn.blogspot.com

https://nisachonyimprasert.blogspot.com

 


โปรแกรม e-Mes ระบบระบบติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามนโยบาย โครงการและกิจกรรม สพฐ.

 

โปรแกรม e-Mes ระบบติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามนโยบาย โครงการและกิจกรรม สพฐ. โรงเรียนบ้านคลองแค

(รายงานผลการคัดกรองการอ่าน การเขียน ชั้น ป.1 – 6)


     ระบบติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามนโยบาย โครงการและกิจกรรมสพฐ. (electronic monitoring and evaluation system : e-Mes) หรือเรียกว่า ระบบ e-Mes เป็นระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สํานักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สตผ.) พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร และให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนรายงานข้อมูลผลการดําเนินงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว โดยใช้ username และ password ของแต่ละโรงเรียน

          สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กําหนดให้ทุกโรงเรียน รายงานผลการประเมินการอ่าน การเขียน ในระบบรายงาน อิเล็กทรอนิกส์ e-Mes  ภาคเรียนละ 1 ครั้ง  โดยในปีการศึกษา 2563 มีกำหนดการรายงานผลการประเมิน ดังนี้

        ครั้งที่ 1 ภายใน 16 สิงหาคม 2563

        ครั้งที่ 2 ภายใน เดือนธันวาคม 2563

ขั้นตอนที่ 1 เข้าระบบรายงานอิเล็กทรอนิกส์ e-Mes (ภาคกลาง)

เว็บไซต์ http://203.159.164.62/~eme62/  หรือ  http://eme1.obec.go.th/~eme62/    โดยใช้ username และ password ของแต่ละโรงเรียน



ขั้นตอนที่ 2  คลิก หน้าหลัก แล้วเลือกข้อมูลโรงเรียน เพื่อกรอกข้อมูลปัจจุบันของโรงเรียน


ขั้นตอนที่ 3  กรอกข้อมูลปัจจุบันของโรงเรียน คลิก บันทึกข้อมูล

ขั้นตอนที่ 4  คลิก ปี 2563 แล้วเลือก รายงานประเมินนักเรียน ปี 63 อ่านออกเขียนได้ ครั้งล่าสุดที่ต้องรายงานผล จากนั้น คลิก ระดับชั้นที่ต้องการรายงานผล 


ขั้นตอนที่ 5 กรอกข้อมูลเพื่อรายงานผลการประเมินการคัดกรองการอ่านการเขียนของนักเรียนในระดับชั้นที่ต้องการรายงานผล (ทั้งปกติและบกพร่องทางการเรียนรู้)

        การคัดกรองการอ่านการเขียน ป.1 - 6 ปีการศึกษา 2563 กำหนดให้มีการคัดกรองนักเรียนในการอ่าน การเขียนแต่ละระดับชั้น โดยแบ่งผลการคัดกรองเพื่อการพัฒนาเป็น 4 ระดับ   คือ ระดับดีมาก ดี พอใช้ และ ปรับปรุง

       ตัวอย่างการรายงานผลการคัดกรองการอ่านการเขียน ป.1 - 6 ครั้งที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนบ้านคลองแค (ครั้งที่ 2 ยังไม่สามารถรายงานผลได้เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของ โควิด -19)

        ขั้นตอนการรายงานผล 

          1.  กรอกข้อมูลจำนวนนักเรียนของชั้นนั้นๆ ทั้งหมด ในคอลัมน์ ที่ (1)  ทั้งนักเรียนปกติและบกพร่องทางการเรียนรู้ เช่น ชั้น ป.2 มีนักเรียน ทั้งหมด 74 คน 

           2.  กรอกข้อมูลของนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ในคอลัมน์ ที่ (2)  นักเรียนปกติและบกพร่องทางการเรียนรู้ ในคอลัมน์ข้อ (3) จะปรากฏตัวเลขที่ขึ้นโดยอัตโนมัติที่แสดงจำนวนนักเรียนปกติ เช่น ชั้น ป.2 มีนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ 2 คน ดังนั้น ชั้น ป.2 มีนักเรียนปกติ 72 คน จากนักเรียนชั้น ป.2 ทั้งหมด 74 คน  


               3.  การจำแนกผลการคัดกรองเรื่องการอ่านและการเขียนว่ามีจำนวนกี่คนในแต่ละระดับคุณภาพ จึงเป็นการนำเฉพาะนักเรียนปกติมาจำแนกเท่านั้นโดยใส่ในคอลัมน์ข้อ (4) ถึง(7) และ(9) ถึง (12) เป็นต้น ส่วนชั้นอื่น ๆ อาจใส่ในคอลัมน์ (14) ถึง (17) และ/หรือ (19) ถึง (22) แล้วแต่ระดับชั้น

        ทั้งนี้หาก คอลัมน์ข้อใดไม่มีจำนวนที่ต้องจำแนกให้ใส่ 0 หรือ เว้นไว้ โดยที่การใส่ข้อมูลพึงระลึกด้วยว่าต้องเป็นตัวเลขข้อมูลจริงมิใช่ใส่เพียงให้ครบ ๆ หรือเป็นข้อมูลที่ผลักดันนักเรียนปกติทั่วไปให้เป็นนักเรียนบกพร่องฯ เพื่อลดภาระ อนึ่งนักเรียนบกพร่องฯเหล่านี้ต้องได้รับการ ดูแลโดยการจัดการเรียนการสอนให้ถูกต้องตามหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องต่อไป


                    4.  เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว ตรวจสอบความถูกต้องก่อนทำการบันทึกข้อมูล โดยจำนวนนักเรียนปกติ ในคอลัมน์ ที่ (3) จะต้องเท่ากับ คอลัมน์ที่เป็นการรวมผลการรายงานของการประเมินในแต่ละด้าน หากจำนวนนักเรียนในคอลัมน์ดังกล่าวมีจำนวนไม่เท่ากัน หมายถึง มีการกรอกข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

   ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว คลิก เพื่อส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ

            การรายงานผลการประเมินการอ่าน การเขียน ของนักเรียนในระบบ e-Mes นี้ เป็นการรายงานเฉพาะข้อมูลจํานวนนักเรียนเพื่อใช้ประมวลผลวิเคราะห์แนวโน้มในภาพรวม เท่านั้น สําหรับข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อการพัฒนาในเชิงลึกเช่น พัฒนาการอ่าน การเขียนของนักเรียนรายบุคคล ให้โรงเรียนดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามความต้องการจําเป็นของโรงเรียน และตามที่หน่วยงานต้นสังกัดกําหนด 

 

e-Mes : ระบบติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย โครงการและกิจกรรม สพฐ.
สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
Powered By e-Me Team




ประวัติ สุชัญญา สำราญ

 


ประวัติส่วนตัว

ชื่อ - นามสกุล นางสาวสุชัญญา  สำราญ  

ชื่อเล่น  แพม

วันเกิด วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2536  

อายุ 27 ปี

การศึกษา : ปริญญาตรี : สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

อาชีพ : ข้าราชการ

คติประจำใจ : การกระทำ สำคัญกว่าคติประจำใจ

งานอดิเรก : อ่านนิยาย ดูภาพยนตร์

E-mail : koenppnkpam@gmail.com




โปรแกรม e-Mes ระบบติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและกิจกรรม สพฐ.

  โปรแกรม e-Mes ระบบติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและกิจกรรม สพฐ.